กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) หรือ Berliner Mauer ถูกสร้างขึ้นเพื่อแบ่งแยกเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตก ถ้าใครได้มาเบอร์ลินก็จะได้เห็นกำแพงที่กั้นแบ่งเขตแดนตั้งอยู่ในกลางเมืองเป็นแนวยาวกว่า 160 กิโลเมตรไปตามเขตพรหมแดนตะวันตกเลยละค่า
จากการที่เยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กับ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐ และสหภาพโซเวียต กำแพงจึงถูกสร้างขึ้นในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1961 จนถึง 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 กำแพงเบอร์ลินถูกมองว่าเป็น “สัญลักษณ์ของสงครามเย็น”
ซึ่งหลังจากเยอรมนีตะวันออกถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต จึงทำให้เมืองหลวงอย่างเบอร์ลินนั้นถูกแบ่งแยกการปกครองเช่นกัน นั่นทำให้เบอร์ลินถูกแบ่งเป็นฝั่งตะวันตกและตะวันออก และเพื่อป้องกันไม่ให้คนข้ามเขตแดน ทำให้เกิดการกวาดล้างพื้นที่ฝั่งตะวันออก
ไม่ว่าจะเป็นอาคารต่างๆ หรือผู้คนในแถบนั้น ทำให้ถูกขนานนามว่าเป็น ดินแดนไร้คน (No Man’s Land) หรือ ลานแห่งความตาย (Death Strip) มีเรื่องเล่าว่า ถ้าใครพยายามจะหลบหนีเพื่อข้ามกำแพงไปฝั่งตะวันตกละก็จะโดนยิงทิ้งทันทีค่ะ ที่น่าเศร้าคือผู้เสียชีวิตจากการหลบหนี 137 ศพ
หลังจากสร้างกำแพง 28 ปี ได้เกิดการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน มีการทุบทำลายและรื้อถอนกำแพง แต่ยังมีร่องรอยหลงเหลือไว้เป็นพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ รวมไปถึงซากศพของผู้หลบหนียังคงถูกทิ้งไว้อยู่ที่นั่น ภายหลังได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์
ปัจจุบันสามารถแกะรอยตามเส้นทางของกำแพงเบอร์ลินได้ตามถนนบางสายของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งจะมีการทำเครื่องหมายไว้ให้ค่ะ หรือจะไปแวะชมที่อนุสรณ์ต่างๆ เช่น East Side Gallery , อนุสรณ์กำแพงเบอร์ลินใน Bernauer Strasse , อนุสรณ์สถาน Berlin – Hohenschönhausen , อดีตเรือนจำ Stasi remand และ the Green Mauerpark หรือใครอยากจะชิลๆ ปั่นจักรยานเลาะตามแนวกำแพงก็จัดไปเลยค่า
ซึ่งที่นี่ไม่เพียงแต่จะเป็นเขตอนุรักษ์พื้นที่กำแพงบางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหอสังเกตการณ์ ที่เราสามารถขึ้นไปชมวิวของเมืองได้ รวมไปถึงการเดินชมโบสถ์ใหม่ที่สร้างขึ้นแทนโบสถ์เก่าอย่าง Chapel of Reconciliation ส่วนถ้าใครอยากเดินชมรอบๆ กำแพงเมือง และอยากทราบประวัติของกำแพงในแบบที่ลึกซึ้ง ก็สามารถซื้อทัวร์เสียงภาษาอังกฤษได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ ได้ในราคาที่ไม่แพงเลยค่ะ
ที่มา : yingpook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น